กตป. ลงพื้นที่ รับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Hearing) เพื่อติดตามและประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญในด้านกิจการโทรคมนาคม ที่จังหวัดเชียงราย

กตป. ลงพื้นที่ รับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Hearing) เพื่อติดตามและประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญในด้านกิจการโทรคมนาคม ที่จังหวัดเชียงราย

วันนี้ (14 ม.ค. 65) ที่โรงแรมเลอเมอริเดียน อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย พ.อ. ดร.พีรวัส พรหมกลัดพะเนาว์ กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านกิจการโทรคมนาคม (กตป.) เป็นประธานเปิดงานโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อติดตามและประเมินผลตามนโยบายคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยครั้งนี้มีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการตจัดและมีตัวแทนจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นกว่า 120 คน

พ.อ.ดร.พีรวัส กล่าวว่า กตป. มีกำหนดการลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นสาธารณะเพื่อติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานด้านกิจการโทรคมนาคมทั้งหมด 6 จังหวัด 5 ภาค ซึ่งภาคตะวันออกได้เลือก จ.เชียงราย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียในด้านกิจการโทรคมนาคมแสดงความคิดเห็นทั้งด้านการประมูลคลื่นความถี่ต่างๆ การใช้เทคโนโลยี 5G ฯลฯ เพื่อรวบรวมข้อมูลนำไปประเมินและเสนอ กสทช.ต่อไป ทั้งนี้เป็นการดำเนินการหลังจากได้มีการประมูลคลื่นความถี่ต่างๆ ไปแล้วตั้งแต่ปี 2563 แต่จากการที่ตนได้ลงพื้นที่สำรวจพบว่ามีพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้คลื่นความถี่ 5G ได้และลดลงเหลือ 4G หรือ 3G หรือบางค่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งมีอยู่ 3-4 ค่าย พบว่าบางค่ายไม่สามารถใช้คลื่นความถี่ใดๆ ได้เลย โดยจุดดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ห่างไกลและอยู่ตามแนวชายแดน

พ.อ.ดร.พีรวัส กล่าวอีกว่า ล่าสุดได้นำคณะเดินทางไปสำรวจคลื่นพื้นที่ชายแดน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ปรากฎว่าบางค่ายสามารถให้สัญญานที่ดีมากเพราะมีเสาส่งสัญญานในพื้นที่แต่บางค่ายไม่มีเลยเพราะไม่สามารถไปตั้งเสาส่งสัญญานในพื้นที่ดังกล่าวได้ ซึ่งถือว่าส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการหรือองค์กรหน่วยงานต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ระบบอินเตอร์เป็นอย่างยิ่งโดยสภาพปัญหานี้เกิดขึ้นติดต่อกันมาหลายปีแล้ว ดังนั้นทาง กตป.ก็จะรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอไปยัง กสทช.รัฐบาล และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องให้ได้รับทราบรวมทั้งกระตุ้นให้ประชาชนได้เข้าใจถึงสภาพปัญหาให้มากขึ้น

กรรมการ กตป.กล่าวด้วยว่า สิ่งที่สามารถดำเนินการได้อีกประการคือการเชิญชวนค่ายอินเตอร์ทุกค่ายให้มาประชุมหารือกันเพื่อตั้งเสาส่งสัญญานรวมทุกค่าย โดยมี กสทช.เป็นองค์กรกลางปัจจุบันมีโครงการดำเนินการแล้วและอยู่ระหว่างหารือเพื่อให้มีการจัดสรรผลประโยชน์ของผู้ประกอบการที่ลงตัวคาดว่าจะเป็นรูปธรรมได้ในเร็วๆ นี้ โดยเฉพาะเมื่อมี กสทช.ชุดใหม่เข้ามาบริหารงาน ส่วนกรณีการตั้งเสาส่งสัญญานไม่สามารถทำได้ในบางพื้นที่เพราะไม่ผ่านการทำประชาพิจารณ์นั้นคงต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนต่อไปเพราะองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ก็มีข้อมูลยืนยันว่าไม่เป็นอันตรายและยังมีข้อมูลทางวิชาการมากมายยืนยันซึ่งก็คงต้องเร่งมือให้ความรู้กันต่อไปเพื่อให้พื้นที่อับสัญญานได้เข้าถึงการใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต เพราะปัจจุบันชีวิตคนเราใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อประโยชน์โดยเฉพาะผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนทั้งข่าวสาร ธุรกรรมการเงิน การทำงาน ฯลฯ.


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar