รองผู้ว่าฯ เชียงราย ให้การบรรยายพิเศษ เรื่อง “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชียงราย ด้วยเมืองแห่งสุขภาพ” (Chiang Rai Wellness City) ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 หอการค้าจังหวัดเชียงราย

รองผู้ว่าฯ เชียงราย ให้การบรรยายพิเศษ เรื่อง “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชียงราย ด้วยเมืองแห่งสุขภาพ” (Chiang Rai Wellness City) ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 หอการค้าจังหวัดเชียงราย

วันนี้ (26 เม.ย. 67) ที่ โรงแรมแกรนด์วิสต้า อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย หอการค้าจังหวัดเชียงราย จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ในที่ประชุมมีการรายงานกิจกรรม ประจำปี 2566 ของหอการค้าจังหวัดเชียงราย และรายงานกิจกรรม ประจำปี 2566 ของ YEC เชียงราย แก่สมาชิกหอการค้าจังหวัดเชียงราย อีกทั้งยังมีการบรรยายพิเศษเรื่อง “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชียงราย ด้วยเมืองแห่งสุขภาพ” (Chiang Rai Wellness City) โดย นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และการบรรยายเรื่อง “การขับเคลื่อน เชียงรายเมืองแห่งสุขภาพ” (Chiang Rai Wellness City) โดย ผศ.ดร.ธิดารัตน์ ดวงยอด หัวหน้าฝ่ายบริการวิชาการ ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และปิดท้ายด้วยการบรรยายเรื่อง “การสนับสนุนการขับเคลื่อนเมืองแห่งสุขภาพ ด้วยกลไกการสนับสนุนจากอุทยาน วิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดย ดร.ชลิดา ธนินกุลภรณ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมีสมาชิกหอการค้าจังหหวัด YEC เชียงราย ส่วนราชการ ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน ร่วมรับฟังการบรรยายในครั้งนี้

นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงรายมีศักยภาพ ขับเคลื่อนเชียงรายเป็นเมือง Wellness City  3 ด้าน คือ Wellness Food การพัฒนาสู่เมืองแห่งอาหารสุขภาพ การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพรและผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพ และ Health Care เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางกายภาพ เพื่อความเป็นเลิศในการบริการสุขภาพการพัฒนาบริการทางการแพทย์ เพื่อการรักษาสุขภาพ การพัฒนาบริการทางการแพทย์ เพื่อการส่งเสริมและพื้นฟูสุขภาพ ตลอดจนการส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางวิชาการ วิจัย และเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมเวลเนส และ Wellness Tourism ส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์
โดยมียุทธศาสตร์ พ.ศ. 2560 – 2569 ได้แก่ 1. ยุทธศาสตร์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการจัดบริการสุขภาพ 2. ยุทธศาสตร์ พัฒนาบริการ รักษาพยาบาล 3. ยุทธศาสตร์ พัฒนาบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ 4. ยุทธศาสตร์ พัฒนาบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 5. ยุทธศาสตร์ พัฒนาบริการ วิชาการและงานวิจัยทางการแพทย์ 6. ยุทธ์ศาสตร์ พัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ 7. ยุทธศาสตร์ ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ รวมถึงเพื่อสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในด้านความมั่นคง ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม และด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ 


ทั้งนี้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีบทบาทในการสนับสนุนโครงการ Chiang Rai Wellness City ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีหน่วยงานทางด้านสุขภาพที่เข้มแข็งภายใต้ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มฟล. โรงพยาบาลการแพทยแผนไทย-จีน และ Wellness Center ที่มีเป้าหมายให้ประชาชนกลุ่มเป้ามหายมีสุขภาพดีทุกช่วงวัย  ห่างไกลโรค เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ภายใต้การบริการที่มีมาตรฐานและทันสมัย รวมทั้งยังมีบุคลากร ทั้งคณาจารย์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมถึงสำนักวิชาและหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทั้งยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้าน Wellness โดยได้มีการลงนามความร่วมมือในการร่วมกันขับเคลื่อน Chiang Rai Wellness City ซึ่งมีผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมลงนามปฏิญญาความร่วมมือ เพื่อร่วมกับขับเคลื่อน 6 ยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยแบ่งเป็น 3 ประเด็นคือ ด้าน Wellness Tourism ด้าน Wellness Food และด้าน Health care เพื่อมุ่งสู่เชียงรายเมืองสุขภาพระดับโลก
 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar